การจัดการมรดก หรือการขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สิน (ทรัพย์มรดก) ของผู้ตาย ไม่ว่าผู้ตาย
จะได้จัดทำพินัยกรรมไว้หรือไม่ก็ตาม และเพื่อผู้จัดการมรดกจะได้จัดการมรดกตามคำสั่ง
โดยมีอำนาจแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามกฎหมายต่อไป
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719)
หลังจากเจ้ามรดกถืงแก่ความตาม ทำให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือสิทธิของผู้รับพินัยกรรม
ถูกขัดข้องไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น ธนาคารไม่ยอมให้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ตาย
หรือสำนักงานที่ดินไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถ
ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
คุณสมบัติของผู้จัดการทรัพย์มรดก
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718) กำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการทรัพย์มรดกไว้ดังนี้
ผู้มีสิทธิยื่นขอจัดการมรดกต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ
(ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713)
ศาลที่มีอำนาจรับคำร้องคดีจัดการมรดก
ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา) คือ
ราชอาณาจักร
เอกสารที่ใช้ในการร้องจัดการมรดก
ค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมศาล
1.ค่าจ้างทนายความ
- 15,000 – 20,000 บาท
- ค่าขึ้นศาล 200 บาท
- ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
- ค่าประกาศ ณ สำนักงานที่ดิน (กรณีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินไม่เกิน 1,000 บาท)
3. ค่าใช้จ่ายในวันนัดไต่สวน
- ค่าถ่ายเอกสารคำสั่งศาล
- ค่ารับรองสำเนาถูกต้อง ฉบับละ 50 บาท
4. ค่าใบสำคัญเพื่อแสดงความคำสั่งถึงที่สุด ฉบับละ 50 บาท
ใช้ระยะเวลาดำเนินการ
นับแต่วันที่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่เกิน 45 วัน ซึ่งในวันนัดผู้ร้องขอเป็น
ผู้จัดการมรดก ต้องไปศาลพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ (ต้นฉบับเอกสารต่างๆ ถ้ามี)